พระบูชาประจำวันอังคาร

ผู้ที่เกิดวันอังคารจะมีพระอังคารเทวาเป็นเทวดาประจำกาย พระบูชาประจำวันคือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ปางนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่องตถาคตละสังขารจากโลก ในขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นครั้งสุดท้ายโดยประทับบนแท่นพระไสยาสน์ก่อนดับขันธ์ปรินิพพาน ในลักษณะนอนตะแคงข้างหันพระพักตร์และพระวรกายไปทางด้านขวา มือขวาประคองพระเศียร ส่วนมือซ้ายแนบไปกับพระวรกาย ปลายเท้าทั้งสองเสมอกันโดยเท้าซ้ายอยู่ด้านบน พระเนตรทั้งสองข้างเปิดเล็กน้อย พระพักตร์แลดูสงบแฝงไปด้วยความอ่อนโยน เหมือนประหนึ่งว่าบรรทมโดยที่ยังมีสติทุกประการ


พุทธคุณที่เกิดจากการบูชาพระพุทธไสยยาสน์คือจะเกิดมงคลแก่ชีวิตในทุก ๆ ด้าน เพราะทำให้เกิดปัญญาในการเอาชนะปัญหาและอุปสรรคทุกอย่างได้ และช่วยให้ศัตรูคู่อริกลับกลายมาเป็นมิตรที่คอยเกื้อหนุนกัน ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ ปราศจากการถูกใส่ร้ายป้ายสีจากผู้อื่น ก่อนออกจากบ้านก็ให้ท่องคาถาฝนแสนห่า ติ หัง จะ โร โน ถิ นัง 8 จบ เพื่ออาราธนาพุทธคุณองค์พระเพื่อเสริมมงคลในทุก ๆ ด้าน
พุทธมนต์ที่ใช้สวดสำหรับเวลาที่บูชาพระพุทธไสยาสน์เป็นพุทธมนต์ที่มีมาแต่ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ปราฎอยู่ในพระไตรปิฎก ในส่วนของพระสุตตันตปิฎก บทสวดเป็นลักษณะของการแผ่เมตตาจิต เป็นการแผ่เมตตาที่ไม่ต้องกำหนดผู้รับ มีชื่อว่า บทกรณียเมตตาสูตร องค์คถาคตได้มอบพุทธมนต์บทนี้ไว้แก่พระภิกษุไว้ใช้ยามที่ออกธุดงค์ เพื่อให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภูตผีปีศาจ และหมู่มารทั้งหลาย อานิสงฆ์ของพระพุทธมนต์บทนี้เน้นด้านเมตตามหานิยมเป็นหลัก ผู้ที่ท่องบทสวดนี้เป็นประจำจะไม่มีวันอับจน เพราะเมื่อใดที่ตกอยู่ในภาวะคับขันอับจนก็จะมีแต่คนมาเมตตาให้ความช่วยเหลือ เป็นที่รักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่
ผู้ที่ไม่มีความก้าวหน้าในที่การงานพบทางตัน ทั้งที่มีความเพียรพยายามและมีความสามารถไม่น้อยกว่าใคร ให้บูชาพระปางไสยยาสน์ซึ่งเป็นพระประจำวันเกิด แล้วให้ท่องบทสวดกำกับด้วยกรณียเมตตาสูตรก่อนออกจากบ้านและก่อนเข้านอนเป็นประจำทุกวัน

บทกรณียเมตตาสูตร
กะระณียะมัตถุกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุซู จะ สุหุซู จะ สุวะโจ สัจจะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทะริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโก กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฎฐา ว เย จะ อะทิฎฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวัตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พะยาโรสะนา ปะฎีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสสะมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
ุอุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฎธัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฎเฐยยะ พรหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฎฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ