พระบูชาประจำวันจันทร์

ผู้ที่เกิดวันจันทร์จะมีเทพจันทร์เทวาเป็นเทพประจำกาย มีอุปนิสัยโดยพื้นฐานเป็นคนที่มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น ยึดถือเรื่องคำพูดของตนเองเป็นสำคัญ มีพระบูชาประจำวันเกิดคือ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืนหน้าตรง ปลายเท้าชิดติดกัน ใบหน้าดูขึงขัง บ้างก็ปรากฎรอยยิ้ม บ้างก็ไม่ปรากฎรอยยิ้มที่พระโอฐ พระเนตรเปิดเล็กน้อย เมื่องมองดูพระพักตร์ก็จะรู้สึกได้ถึงความอบอุ่น และความน่าเกรงขาม ท่อนแขนด้านบนทั้งสองข้างแนบลำตัว ส่วนพระหัตถ์ซ้ายและขวายกขึ้นเสมออก หันฝ่ามือออกด้านหน้า ซึ่งกริยาโดยรวมของพระพุทธรูปที่แสดงออกมานั้นให้ความรู้สึกว่ามีความหมายถึง หยุดเถิดท่านทั้งหลาย


พระพุทธคุณของพระพุทธรูปปางห้ามญาติจะเน้นหนักในเรื่องของความอยู่ยงคงกระพันชาตรี ปกป้องภัยอันตรายทั้งปวง ผู้ที่ใดที่ได้บูชาจะมีสติเป็นเครื่องประกอบอยู่เสมอ ซึ่งสติที่ว่านี้มีความหมายถึงสติที่ตื่นจากกิเลส ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสและตัณหา เรียกว่าเป็นผู้ที่มีสติตื่นอยู่ตลอดเวลา เมื่อชีวิตไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ก็ไม่ต้องเร่งรีบ ไม่ต้องแข่งขัน มีแต่ความพอเพียงในการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข ก่อนออกจากบ้านให้ท่องคาถา กระทู้ 7 แบก อิ ระ ซา คะ ตะ ระ สา 15 จบ เพื่ออาราธนาพระพุทธคุณเป็นเกราะคุ้มกันภัยซึ่งนับเป็นพุทธคุณที่ประเสริฐหาใดเปรียบได้
บทสวดที่ใช้ในการกำกับบูชาพระพุทธรูปปางห้ามญาติมีชื่อว่า บทอภัยปริตร เป็นพุทธมนต์ที่ว่าด้วยการปัดเป่าไล่สิ่งอัปมงคลต่าง ๆ ออกไป พุทธานุภาพของพุทธมนต์บทนี้เป็นการนำอำนาจของคุณพระศรีรัตนตรัยอันประกอบด้วย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นที่พึ่ง บทอภัยปริตรนี้มีพุทธคุณเน้นหนักทางด้านความแคล้วคลาดปลอดภัยเป็นหลัก ถ้าใครได้ท่องสวดพุทธมนต์บทนี้แล้วก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง เปรียบเสมือนการได้นำคุณงามความดีและความศักดิ์สิทธิ์ของคุณพระศรีรัตนตรับมาเป็นเกราะกำแพงแก้วคุ้มภัยจากสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่จะเข้ามา รวมถึงช่วยให้รอดพ้นจากสิ่งอัปมงคลคุณไสยทั้งปวงด้วย

บทอภัยปริตร
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุกาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมัติตัง อะวะมัง คะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ