ยามดียามร้าย
โหราศาสตร์ชาวอีสานโบราณได้กำหนดการดูฤกษ์ยามของแต่ละวัน เดือน ปี ไว้หลายตำราเพื่อประกอบการใดให้มีแต่สิริมงคล และความเจริญรุ่งเรือง ในที่นี้ขอนำเสนอเพียงการดูยามดียามร้ายในแต่ละวัน ดังนี้
ยามพระเจ้า 5 พระองค์ (นะ โม พุท ธา ยะ) ดูตามตาราง
ยามพระเจ้า 5 พระองค์นี้ แบ่งเป็น 5 ยาม ยามละ 2 ชั่วโมง 24 นาที
ช่วงกลางวัน นับแต่ย่ำรุ่งเป็นต้นไปจนถึงย่ำค่ำคือ 1 ยาม เช้า 2 ยามสาย 3 ยามเที่ยง 4 ยามบ่าย 5 ยามเย็น
ช่วงกลางคืน มี 5 ยามเช่นเดียวกัน เริ่มแต่ย่ำค่ำจนถึงย่ำรุ่งของวันต่อไปตามลำดับเหมือนช่วงกลางวัน
วิธีดูยาม
เมื่อออกเดินทางไปแสวงหาโชคลาภ หรือไปประกอบธุรกิจการงานในทิศทางไกล ทานให้ตรวจดูฤกษ์ยามเสียก่อน เพื่อจะได้ประสบความโชคดีมีชัยตามที่ประสงค์
หากวันเดินทางเป็นข้างขึ้นให้นับจากทางซ้ายไปทางขวาตามลูกศรในตาราง ตรงกันข้ามหากวันเดินทางเป็นข้างแรมให้นับยามที่ 1 จากขวามาซ้าย จะได้ยามที่ 1 เป็นยามนะ ยามที่ 2 เป็นยามโม ยามที่ 3 เป็นยามพุท ยามี่ 4 เป็นยามธา และยามที่ 5 เป็นยามยะ เป็นอย่างนี้เสมอทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน
ยามร้าย ไม่ควรออกเดินทางคือ ยามมรณา และยามฆาฎะฑัณฑ์ หากวันเวลาใดตรงกับยามทั้งสองควรเลื่อนเวลาออกเดินทางจะดีกว่า เพราะถือว่าเป็นยามที่ไม่สมควรจะออกเดินทางไปแสวงโชคหหรือประกอบกิจการใด ก็จะได้รับแต่ความพ่ายแพ้ปราชัย มีอุปสรรคขัดขวาง ทำให้โชคไม่ดีนั่นเอง
ยามปานกลาง คือ ยามปลาด แม้หากจำเป็นต้องออกเดินทางก็จะได้เพียงแค่เสมอตัว ไม่มีโชคลาภอันใดแต่ก็ไม่ปราชัยพ่ายแพ้ ไม่ควรไปแสวงหาโชค แต่หากเพียงแค่เดินทางเพื่อพบปะเจรจาหรือสังสรรค์กับเพื่อนฝูงท่านว่ายามนี้ก็ดีนักแล
ยามดี ควรออกเดินทางจะประสบแต่ความโชคดีมีชัย มีความสุขสมหวัง คือ ยามละภะ กับยามสรรพพิชัย ท่านว่ายามนี้ดีนักแล