ทำความเข้าใจในเรื่องของยาม

ยาม เป็นคำเรียกที่หมายถึง เวลาตกฟาก หรือการเกิดของมนุษย์เราทั้งหลายนั่นเอง เวลาเกิดเป็นจุดสำคัญของชีวิต การที่เราเกิดออกมาจากท้องแม่ในเวลาเท่าไร และตกอยู่ในยามใดนั้น หลักฐานเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายก็เพื่อจะได้นำไปสู่การทำนายทายทักเส้นทางของชีวิตได้ถูกต้องนั่นเอง
ทางไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ไทยได้แบ่งยามออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเวลากลางวัน และช่วงเวลากลางคืน โดยจะยึดเอาเวลา 6.00 น. (6 โมงเช้า) และ 18.00 น. (6โมงเย็น) เป็นจุดสำคัญในการแบ่งช่วงเวลากลางวันกับกลางคืน
เมื่อแบ่งช่วงเวลากลางวันกับกลางคืนออกไปแล้ว ก็จะมีการรวมเรื่องของดวงดาวบนท้องฟ้าทั้ง 7 ดวงซึ่งมีดวงอาทิตย์รวมอยู่ด้วยซึ่งเป็นทั้งเป็นแกนกลางและเป็นผู้นำอีกด้วย ส่วนดวงดาวทั้ง 6 ดวงนั้นก็มีการโคจรที่ช้าเร็วต่างกัน ซึ่งจะเรียงดวงดาวที่โคจรช้าที่สุดไว้เป็นอันดับแรกก่อนส่วนดวงดาวที่โคจรได้เร็วที่สุดไว้เป็นลำดับหลังไล่เรียงกันไป เมื่อเรียงลำดับตามความเร็วของดวงดาวที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์จากช้าสุดไปจนถึงเร็วสุดแล้วจะได้ดังนี้



ก็จะเห็นตามรูปลักษณะนี้แล้วว่าดาวอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของวงโคจรและรายล้อมด้วยดวงดาวต่าง ๆ อีก 6 ดวงพอดี และหากว่าจัดให้ดาวอาทิตย์เป็นแกนกลางก็เท่ากับว่าให้ดาวอาทิตย์เป็นจุดเริ่มต้น ดังนั้นจึงได้จัดตำแหน่งให้ดาวอาทิตย์อยู่ในอันดับ 1. จันทร์ 2. อังคาร 3. พุธ 4 . พฤหัสบดี 5. ศุกร์ 6. เสาร์ 7. เรียงกันไปตามลำดับในรอบสัปดาห์
นอกจากนั้นยังได้แบ่งช่วงเวลาออกไปเป็นยาม แบ่งเป็นเป็นกลางวัน 8 ยาม และกลางคืนอีก 8 ยาม รวมแล้วใน 1 วันจะมีทั้งหมด 16 ยาม โดยแต่ละยามมีค่าเท่ากับ 1 ชั่วโมงครึ่ง หรือเท่ากับยามละ 90 นาที รวมทั้ง 16 ยามก็เท่ากับ 24 ชั่วโมง เป็น 1 วันพอดี เมื่อแบ่งยามเป็นกลางวันและกลางคืนแล้ว ในแต่ละช่วงหัวตัวที่เป็น 0 จะเรียกว่า ยามอัฏฐกาล